1. ส่วนที่เป็น เหตุ หรือ สิ่งที่กำหนดให้ ซึ่งได้แก่ P1
, P2 , P3 , … , Pn
2. ส่วนที่เป็น ผล ซึ่งได้แก่ Q
ในการอ้างเหตุผลอาจจะสมเหตุสมผล (valid) หรือไม่สมเหตุสมผล (invalid) ก็ได้
ซึ่งมีวิธีการตรวจสอบ
คือใช้ สัจนิรันดร์ โดยเชื่อมเหตุทุกเหตุด้วยตัวเชื่อม ∧ แล้ว
นำเหตุกับผลมาเชื่อมด้วยตัวเชื่อม → ดังนี้
ถ้า รูปแบบ ( P1 ∧ P2 ∧ P3 ∧ … ∧ Pn ) → Q เป็นสัจนิรันดร์ แสดงว่า การอ้างเหตุผลนี้ สมเหตุสมผล
ถ้า รูปแบบ ( P1 ∧ P2 ∧ P3 ∧ … ∧ Pn ) → Q ไม่เป็นสัจนิรันดร์ แสดงว่า การอ้างเหตุผลนี้ ไม่สมเหตุสมผล
ตัวอย่าง จงตรวจสอบว่าการอ้างเหตุผลต่อไปนี้สมเหตุสมผลหรือไม่
เหตุ 1. p → q
2. p
ผล q
วิธีทำ ขั้นที่ 1
ใช้ ∧ เชื่อมเหตุเข้าด้วยกัน และใช้ → เชื่อมส่วนที่เป็นเหตุกับผล
จะได้รูปแบบของประพจน์คือ [( p → q ) ∧ p] → q
ขั้นที่ 2
ตรวจสอบรูปแบบของประพจน์ที่ได้ว่าเป็นสัจนิรันดร์หรือไม่
จากแผนภาพ แสดงว่า รูปแบบของประพจน์ [( p → q ) ∧ p] → q เป็นสัจนิรันดร์
ดังนั้น การอ้างเหตุผลนี้สมเหตุสมผล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น